ปัจจุบันโลกเรามีขยะพลาสติกมากกว่า 350 ล้านตัน โดยมีถึง 91% เป็นขยะพลาสติกที่ไม่สามารถนำมารีไซเคิลได้ และด้วยการผลิตในภาคอุตสาหกรรมที่ผลิตขึ้นมาใหม่อยู่ตลอดเวลาก็มีส่วนทำให้มีจำนวนขยะพลาสติกมากขึ้นตามไปด้วย

นั่นทำให้ ไอดะ ทาคุโซ นักเคมีโพลิเมอร์และศาสตราจารย์ด้านเคมี มหาวิทยาลัยโตเกียว ได้พยายามหาทางออก จนค้นพบวิธีสร้าง “พลาสติกที่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้”

พลาสติกชนิดนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับ โทรศัพท์มือถือ รถยนต์ หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ โดยนอกจากจะไม่แตกหักเสียหายแล้ว ยังสามารถช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกได้อีกด้วย

ยุคสมัย “แอนโทรโพซีน” คืออะไร? สำคัญอย่างไรกับมนุษยชาติ?

นักวิทย์พบหลักฐานยืนยัน โลกเข้าสู่ยุคสมัย “แอนโทรโพซีน” แล้ว!

พบ “ครึ่งหินครึ่งพลาสติก” เมื่อมนุษย์กำลังเปลี่ยนธรณีวิทยาของโลก

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า โดยทั่วไปแล้ว พลาสติกประกอบด้วยสายโซ่โมเลกุลพันกันหลายเส้น และพันธะของโมเลกุลจะละลายเมื่อพลาสติกแตกตัว การจะซ่อมแซมพันธะของโมเลกุลที่แตกไปนั้นจะทำได้โดยการหลอมที่อุณหภูมิสูงเท่านั้น

แต่พลาสติกที่พัฒนาขึ้นใหม่สามารถแก้ไขสายโซ่โมเลกุลที่แตกตัวได้ภายใต้กลไกที่เรียกว่า “พันธะไฮโดรเจน” หลักการทำงานของพลาสติกซ่อมแซมตัวเองได้คือ เมื่อมีการเติมสารชนิดหนึ่งลงไปในพลาสติกธรรมดาแล้วจะเกิดเป็นพลาสติกชนิดพิเศษขึ้นมา

หากเกิดความเสียหายขึ้น ต้องทำให้พลาสติกชนิดนี้ได้รับความร้อน เพื่อให้โมเลกุลโมโนเมอร์ (หน่วยย่อยของโพลิเมอร์ที่สังเคราะห์ให้เป็นพลาสติก) สลายตัว และสร้างเนื้อพลาสติกใหม่ขึ้นมา แต่ความแข็งแรงของพลาสติกที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ จะไม่เหมือนกับเนื้อพลาสติกเดิม

ในเบื้องต้นทีมงานได้ทำการเผาพลาสติกชิ้นนี้และทิ้งมันไว้ในอุณหภูมิห้องที่ไม่มีการปรับอากาศใด ๆ และพบว่า พลาสติกมีการซ่อมแซมตัวเอง แต่ต้องใช้เวลามากกว่า 1 ชั่วโมงจึงจะกลับมาอยู่ในสภาพที่ใกล้เคียงเดิมอีกครั้ง

ทีมงานกล่าวว่ารอยแผลเป็นภายในพลาสติกที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าสามารถรักษาให้หายได้ด้วยเช่นกัน

นักวิทยาศาสตร์คาดหวังว่าเทคโนโลยีนี้จะสร้างพลาสติกที่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้ด้วยคุณสมบัติต่าง ๆ หากใช้ส่วนผสมในปริมาณที่ต่างกัน

ถึงแม้ว่าตอนนี้จะยังไม่มีการนำพลาสติกตัวนี้ออกมาใช้งานในชีวิตประจำวัน เพราะมันยังอยู่ในขั้นตอนของการทดลอง แต่ในอนาคตอาจมีการนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งของต่างในชีวิตประจำวันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น หน้าจอสมาร์ทโฟน กรอบแว่นตา อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ภายในบ้าน เฟอร์นิเจอร์ เครื่องบิน และรถยนต์

ไอดะบอกว่า “วิธีการนี้จะนำไปสู่การพัฒนาพลาสติกอย่างยั่งยืน โดยไม่ต้องมีการทิ้งให้เป็นขยะหรือรีไซเคิลอีกต่อไป”

อ่านงานวิจัยฉบับเต็ม ที่นี่

เรียบเรียงจาก Asahi Shimbun / Goodnetคำพูดจาก นสล็อตออนไลน์

ภาพจาก Takuzo Aida

By admin