Working: 24 hours/7 days
บอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้ โพสท์โดย jameji“ไต” ถือเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย ทำหน้าที่ขับของเสียออกจากร่างกายในรูปปัสสาวะให้มีปริมาณของส่วนประกอบและปริมาตรที่เหมาะสม รักษาสมดุลของร่างกาย ระหว่างน้ำกับแร่ธาตุในร่างกาย หากไต เกิดความผิดปกติ ก็จะส่งผลต่อระบบอื่นๆ ของร่างกายไปด้วย อาการของโรคไตแบ่งออกเป็น 2 กรณี1. ไตวายเรื้อรัง เพราะไตบางส่วนถูกทำลาย ปัจจัยที่เป็นสาเหตุอันดับหนึ่ง คือ โรคเบาหวาน ส่วนปัจจัยอื่นๆ เช่น การถ่ายทอดทางพันธุกรรมบางอย่าง ความดันโลหิตสูง การได้รับยาที่เป็นพิษต่อไต กรณีนี้ไม่สามารถรักษาให้ไตกลับมาทำหน้าที่ได้เต็มที่ รักษาได้ด้วยการฟอกไตเพื่อประคับประคองอาการ2. ไตวายเฉียบพลัน เพราะไตขาดเลือดอย่างเฉียบพลัน เกิดจากการอักเสบของไต และสาเหตุหลายๆ อย่างร่วมกัน โดยพบมากในผู้ป่วยที่ทานยาสมุนไพร ยาบำรุง และกลุ่มยาแก้ปวดต่างๆ ที่ติดต่อกันเป็นเวลานาน กลุ่มนี้ต้องรีบเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที อาการไตวายเฉียบพลันที่ต้องพบแพทย์ทันที!!!ปัสสาวะน้อยกว่า 400 ซีซี/วัน ซึ่งน้อยกว่าคนปกติถึง 3 เท่าอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร อาเจียนแขนขาบวมน้ำ หอบเหนื่อย หรือมีอาการขาดน้ำอย่างใดอย่างหนึ่งรู้สึกวาบหวิว เหนื่อยง่าย หรืออ่อนเพลียเนื่องจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ สาเหตุของการเกิดโรคไตวายเฉียบพลัน1.อาการช็อก จากสาเหตุอื่นร่วมด้วย2.ยาที่มีผลต่อไต เช่น ยายาปฏิชีวนะ บางชนิด สมุนไพรบางชนิด ยาลดการอักเสบที่ไม่ใช่ steroid ยาเคมีบำบัด เป็นต้น3.โรคตับรุนเเรงบวมมาก ทำให้ไตวายเฉียบพลันตามมา4.รับประทานอาหารได้น้อย อาจเป็นจากสาเหตุใดก็ได้5.ยาลดความดันบางชนิด6.นิ่วอุดตันหรือเนื้องอกอุดตันในทางเดินปัสสาวะ อาการต่างๆ ที่สังเกตได้ ว่าไตของเรากำลังมีปัญหา เพราะเมื่อไตทำงานได้ไม่ปกติ ร่างกายขับของเสียได้ไม่มีประสิทธิภาพ จะส่งผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย และท้ายที่สุดหากการทำงานของไตเหลือเพียงร้อยละ 25 ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการต่างๆให้พอสังเกตได้ ดังนี้ สภาพทั่วๆไป ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย อ่อนแรง อิดโรย เหนื่อยง่าย หงุดหงิดง่าย หรือผู้ป่วยโรคไตบางรายอาจจะซูบผอมเนื่องจากน้ำหนักที่ลดลง ในทางตรงกันข้ามโรคไตบางชนิดอาจทำให้ผู้ป่วยตัวบวม ขาบวมร่วมกับมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นระบบผิวหนัง ผู้ป่วยจะมีผิวหนังซีด แห้งคัน มีจ้ำเลือดเกิดขึ้นง่าย ผิวหนังแตกแห้ง เป็นแผลแล้วหายช้า หรือผู้ป่วยบางรายจะมีผิวหนังตกสะเก็ดดำคล้ำกว่าปกติระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปากขม ไม่สามารถรับรสอาหารได้ สะอึก ปวดท้อง ท้องเดิน เลือดออกในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ เป็นแผลในกระเพาะและลำไส้ระบบหัวใจและการหายใจ ถ้าไตทำงานได้น้อยลงจนขับปัสสาวะและเกลือแร่ไม่ได้ ผู้ป่วยจะมีอาการบวมทำให้หัวใจทำงานไม่ไหว และมีอาการเหนื่อยง่าย นอนราบแล้วหายใจลำบาก ความดันโลหิตสูง หัวใจโต กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมสภาพ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ อาจเกิดภาวะน้ำคั่งในเยื่อหุ้มหัวใจ น้ำคั่งในปอด ปอดบวม ทำให้หายใจไม่ออก ไอเป็นเลือดด้านระบบประสาท สมองและกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยจะมีอาการปลายประสาทเสื่อม ทำให้มือเท้าชา ปวดหลังบริเวณบั้นเอว กล้ามเนื้อกระตุก เป็นตะคริวและกล้ามเนื้ออ่อนแรง เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ขาดสมาธิ สมองเสื่อม ไม่สามารถคิดและจดจำได้เหมือนปกติ ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีในที่สุดอาจมีอาการชัก หมดสติ หรือเสียใจชีวิตได้ระบบกระดูก เนื่องจากไตสูญเสียหน้าที่ในการสังเคราะห์วิตามินดี มีผลทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ เกิดภาวะกระดูกพรุน แตกหักง่าย ในผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคไตวายจะหยุดเจริญเติบโตและแคระแกร็นระบบทางเดินปัสสาวะ ผู้ป่วยที่มีไตวายระยะเริ่มแรก ในตอนกลางคืนจะปัสสาวะบ่อยและมีสีจาง จนที่สุดเมื่อการทำงานของไตเสื่อมลงหรือไตวาย ผู้ป่วยจะมีปัสสาวะออกน้อยมากระบบโลหิต ผู้ป่วยทุกรายเมื่อไตเสื่อมลง เข้าภาวะโรคไตวายระยะสุดท้าย จะผลิตฮอร์โมนไปกระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดแดงได้น้อยลง ทำให้โลหิตจาง ผู้ป่วยทุกรายเมื่อไตเสื่อมลง จะมีอาการซีด และมีผลต่อการทำงานของเกล็ดเลือดผิดปกติ เป็นสาเหตุให้มีเลือดออกง่าย เลือดไหลไม่หยุด และมีจ้ำเลือดขึ้นตามตัวได้ง่ายระบบภูมิต้านทานโรค โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคไตวายมักจะมีภูมิต้านทานโรคต่ำ เป็นสาเหตุให้ติดเชื้อได้ง่ายระบบฮอร์โมนอื่นๆ ในร่างกายผู้ป่วยโรคไตวาย มักจะมีการทำงานที่ผิดปกติของฮอร์โมนเกือบทุกชนิด ทั้งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง จากต่อมไธรอยด์ จากต่อมพาราไธรอยด์ จากต่อมหมวกไต ฮอร์โมนจากรังไข่เพศหญิง ทำให้ประจำเดือนผิดปกติ หรือฮอร์โมนจากลูกอัณฑะในเพศชาย ทำให้เป็นหมันและเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ การวินิจฉัย รู้ทันอาการโรคไตเมื่อเราสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นแล้ว เกิดความกังวลใจว่าอาการเหล่านี้อาจจะเกี่ยวข้องกับโรตไตหรือไม่นั้น ควรมาพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ ตรวจปัสสาวะ ถ้ามีภาวะผิดปกติของไต ปัสสาวะจะมีโปรตีนและเม็ดเลือดแดงปนมากับปัสสาวะตรวจเลือด ถ้ามีภาวะผิดปกติของไต ปริมาณไนโตรเจน กรดยูริก (Blood Nitrogen Urea,ไตวายภัยเงียบที่คุกคามชีวิตโดยไม่ทันตั้งตัว BUN) และ ครีเอตินิน (Creatinine, Cr) ที่เป็นของเสียจากกล้ามเนื้อจะตกค้างในเลือดสูงกว่าปกติ และนำผลเลือดที่ได้นี้มาใช้ในการประเมินค่าการทำงานของไตหรือ GFR (glomerular filtration rate) ในลำดับต่อไปการตรวจอัลตราซาวด์ (Ultrasound) และ การเอกซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์ (CT scan) ถ้ามีความผิดปกติของไตและระบบทางเดินปัสสาวะ แพทย์สามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนร่วมกับการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ สรุปโรคไตในแต่ละประเภทนั้น อาการของผู้ป่วยอาจจะมีลักษณะแตกต่างกัน ตามโรคไตในแต่ละประเภท โดยอาการโรคไตวายเรื้อรังค่อนข้างจะซ่อนเร้น ค่อยๆ กำเริบมากขึ้นโดยที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวหรือไม่มีอาการ บางครั้งแฝงมากับโรคอื่นอย่างลับๆ บางครั้งตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจปัสสาวะ หรือตรวจเลือด จึงทำให้ผู้ป่วยโรคไตจำนวนมากไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคไต เมื่อมีอาการก็มักจะมาพบแพทย์ซึ่งสายเกินไปเสียแล้วเพราะไตของผู้ป่วยเสียมากจนเกินความสามารถที่แพทย์จะรักษาให้หายเป็นปกติได้ดังนั้นเมื่อเรารู้ถึงลักษณะอาการของโรคไตตั้งแต่เนิ่นๆ หมั่นคอยสังเกตอาการ และพบแพทย์ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี จะทำให้เรามีสุขภาพที่แข็งแรง